แจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลปี 2564 ได้แล้ววันนี้

อยากเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม? แจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลปี 2564 ได้แล้ววันนี้

สำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้ผู้ประกันตนสามารแจ้งขอเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาลประจำปี 2564 หากผู้ประกันตนมีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานพยาบาล ทำได้ดังนี้ ได้ตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564

  • ยื่นแบบฟอร์มกระดาษ สามารถยื่นแบบเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ สปส. 9-02 ได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครในพื้นที่ และ จังหวัดสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ ผู้ประกันตนที่ทำงานกับนายจ้างกรอกข้อมูลในช่อง สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนที่นำส่งเงินสมทบด้วยตนเอง หรือ ลาออกจากการทำงานให้กรอกข้อมูลในช่อง สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 และบุคคลตามมาตรา 38 และมาตรา 41
  • ทำรายการผ่านเว็บไซด์ https://www.sso.go.th/wpr/main/login เมื่อ ลงทะเบียนเข้าใช้สำเร็จให้เลือกเมนู ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล
  • ทำรายการผ่าน Applications SSO Connect เมื่อ ลงทะเบียนเข้าใช้สำเร็จให้เลือกเมนู เลือกเปลี่ยนโรงพยาบาล

เมื่อเลือกโรงพยาบาลแล้วเราจะสามารถใช้สิทธิ์ที่โรงพยาบาลนั้นๆเลยได้หรือไม่

ก่อนอื่นขอชี้แจงว่าทุกสถานพยาบาลมีอัตราในการรับผู้ประกันตน เพราะฉะนั้นก่อนเลือกสถานพยาบาล ท่านสามารถตรวจสอบได้โดยการสายด่วน 1506 ตลอด 24 ชม. หรือ หรือสำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง ก่อนท่านจะยื่นแบบฟอร์มกระดาษ สปส. 9-02

แต่หากเป็นการทำรายการ online ผ่าน https://www.sso.go.th หรือ SSO Connect หากสถานพยาบาลไหนรับผู้ประกันตนจนเต็มแล้ว ในรายชื่อโรงพยาบาลจะขึ้นคำว่า (เต็ม) ท้ายชื่อโรงพยาบาล

สิทธิในการรับบริการทางการแพทย์เกิดขึ้นต่อเมื่อภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 เดือนและผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้ตลอดอายุตลอดความเป็นผู้ประกันตน กรณีสิ้นสภาพจากความเป็นผู้ประกันตน สามารถใช้สิทธิต่อไปได้อีก 6 เดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพ

เมื่อไปรับบริการทางการแพทย์ ผู้ประกันตนคนไทยต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ กรณีคนต่างด้าว ต้องแสดงบัตรประกันสังคมและหนังสือเดินทาง (Passport) หรือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

Alacris Outsourcing
Marketing team

หากต้องการผู้ช่วยด้านการเลิกจ้าง คำนวนค่าเลิกจ้าง เอกสารเลิกจ้าง ที่ปรึกษางานด้านบุคคล หรือ การทำ Outplacement ติดต่ออะลาคริสได้ที่ (+66) 099 414 3636 หรือ contact@alacris-th.com

บริการอื่นๆของอะลาคริส บริการสรรหา Recruitment service, บริการรับทำเงินเดือน Payroll Outsourcing, บริการงานทรัพยากรบุคคล HR Outsourcing,  และ งาน Outsourcing อื่นๆ

ตอนที่ 3 บทบาท HR กับการเลิกจ้าง

จริงอยู่ว่า HR ไม่สามารถเลือกได้ว่าจะไม่ปฏิบัติตามเมื่อนายจ้างมีคำสั่งให้เลิกจ้าง หรือ ปรับลดจำนวนพนักงาน แต่เมื่อมีคำสั่งเลิกจ้างเกิดขึ้นสิ่งที่ HR สามารถทำอย่างไรได้เพื่อเป็นการช่วยเหลือทั้ง 2 ฝ่าย

  • ถูกกฎหมาย และ เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือ ที่พนักงานส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นค่าตกใจนั่นแหละ ค่าชดเชยตามมาตรา 118 และ ค่าชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้าง หรือ ตามนโยบายอื่นๆตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท
  • แจ้งออกประกันสังคมให้เร็วที่สุด ณ วันที่พนักงานพ้นสภาพเป็นวันแรกๆ HR ต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบ สปส. 6-09 และ เลือก สาเหตุว่า “เลิกจ้าง” เพราะพนักงานจะต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานเพื่อขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
  • ชี้แจงเรื่องเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากบริษัทท่านมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงาน ให้ชี้แจงนโยบายการจ่ายเงินสะสมส่วนของนายจ้างให้พนักงานรับทราบ และ พนักงานสามารถเลือกได้ว่าจะขอคงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ซึ่งมักจะมีค่าธรรมเนียมในการคงกองทุน หรือ จะถอนกองทุนออกมาทันทีก็ทำได้
  • แจ้งออกสวัสดิการอื่นๆของบริษัท เช่น ประกันชีวิตและประกันกลุ่มของบริษัท เงินกู้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีพนักงานประสงค์ขอถอนกองทุน
  • ช่วยเหลือในการสมัครงานของพนักงาน ในฐานะ HR ที่ต้องทำงาน Recruitment HR สามารถช่วยทบทวนประวัติการทำงาน (review resume) ให้พนักงานดูน่าสนใจมากขึ้น หรือ ช่วยแนะนำ recruitment agency ที่บริษัทรู้จักให้พนักงานส่ง resume ของตนเองเข้าไปฝากประวัติไว้ อีกทั้งช่วยแนะนำช่องทางในการสมัครงานต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน การสมัครไม่ได้อยู่เพียงแต่ใน web job แต่ยังครอบคลุมไปถึง linkedin, facebook, line กลุ่มต่างๆ (OpenChat) อีกด้วย
  • ออกหนังสือรับรองการทำงาน ทวิ50 และ สลิปเงินเดือน มอบให้พนักงาน เพื่อให้พนักงานพร้อมมีหลักฐานแนบในการสมัครงานที่ใหม่
  • แนะนำคอร์สสัมนาเพื่อเพิ่มศักยภาพให้พนักงานสามารถออกไปแข่งขันในตลาดแรงงานได้
  • รักษาความสัมพันธ์กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง ในกรณีที่มีตำแหน่งในบริษัทเปิดว่างและเหมาะสมกับพนักงานท่านนั้น คงจะดีไม่น้อยที่จะได้พนักงานคนที่รู้จักสินค้าและบริการของบริษัทมาเป็นอย่างดีกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นให้พิจารณาคุณสมบัติของพนักงานท่านนั้นเพิ่มด้วย

หวังว่าข้อมูลของอะลาคริสจะเป็นประโยชน์ทั้งกับ HR และ พนักงานเอง ขอให้ท่านโชคดีกับการทำงาน การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ ขอให้การเปลี่ยนแปลงเปิดประตูให้ทุกท่านได้ค้นพบงานใหม่ที่ดีและชีวิตที่ดีกว่าเดิม

อะลาคริส – บริการสรรหาพนักงานไอที วิศวกร และ ระดับบริหาร
Alacris – Recruitment Service in Thailand for IT, Engineer and Executive

Alacris Outsourcing
Marketing team

หากต้องการผู้ช่วยด้านการเลิกจ้าง คำนวนค่าเลิกจ้าง เอกสารเลิกจ้าง ที่ปรึกษางานด้านบุคคล หรือ การทำ Outplacement ติดต่ออะลาคริสได้ที่ (+66) 099 414 3636 หรือ contact@alacris-th.com

บริการอื่นๆของอะลาคริส บริการสรรหา Recruitment service, บริการรับทำเงินเดือน Payroll Outsourcing, บริการงานทรัพยากรบุคคล HR Outsourcing,  และ งาน Outsourcing อื่นๆ

รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “เลิกจ้าง”

การขึ้นทะเบียนว่างงาน และ รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการเลิกจ้าง

กรณีการว่างงานจากการเลิกจ้าง โดยไม่มีความผิดตามมาตรา 119 ของกฎหมายแรงงาน และ มิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และ มิใช่ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 เงื่อนไขที่ท่านจะมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน หากท่านเข้าเงื่อนไขนี้ให้ทำตาม เงื่อนไข และ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการเลิกจ้าง

หากท่านเข้าเงื่อนไขนี้ให้ทำตาม เงื่อนไข และ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากกรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง

ขั้นตอนการขอประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน กรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง

  1. ย้ำฝ่ายบุคคลของนายจ้างเดิมว่าให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบสปส.6-09 ระบุกรณี “เลิกจ้าง” ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ เร็วกว่านั้น เมื่อท่านมีความจำเป็นต้องใช้เงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานโดยด่วน
  2. ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไปที่ สำนักงานจัดหางานตามพื้นที่ๆที่ท่านสะดวก เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น ไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน สำหรับท่านที่ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และ ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ใน https://empui.doe.go.th/auth/index
  3. นำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมที่ท่านสะดวก เอกสารที่ต้องนำไปด้วย
    • พิมพ์แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน สปส.2-01/7 ที่ https://empui.doe.go.th/assets/doc/sos_2-017.pdf
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • สำเนาหน้าบัญชี ซึ่งประกันสังคมจะจ่ายผ่านธนาคารดังต่อไปนี้ ธนาคาร ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
    • ในขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่ประกันสังคมบางพื้นที่อาจจะมีการเรียกขอดูหนังสือรับรองการออกจากงาน หรือ หนังสือเลิกจ้าง
    • สำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
  4. ให้รายงานตัวตามนัด ต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน หรือ ออนไลน์ ใน https://empui.doe.go.th/auth/index และ เงินทดแทนจะเข้าบัญชีที่ท่านได้ให้ไว้ 3-5 วันทำการหลังรายงานตัว

ซึ่งท่านจะต้องมีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน

การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานกรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง (ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 28 ก.พ. พ.ศ. 2565)

ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการเลิกจ้าง รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 200 วัน ในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

** กรณีที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 200 วัน ที่มา  https://www.sso.go.th/wpr/main/service/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1_detail_detail_1_125_696/236_236

เช่น เงินเดือนเดิมท่าน 35,000 บาท แต่ ประโยชน์ทดแทนจะคำนวนจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท และ ท่านถูกเลิกจ้างมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563

ครั้งที่         วันที่นัดหมาย              วันที่มารายงานตัวจริง    จำนวนเงินประโยชน์

1             02/12/2563              02/12/2563              – บาท       

2             01/01/2564              25/12/2563             6,300 บาท

ซึ่ง 6,300 บาท คำนวนจาก วันที่ 8 ธ.ค. 2563 ถึง 25 ธ.ค. 2563 เป็นเวลา 18 วัน x (15,000/30*70%) = 6,300 บาท เป็นต้น

โดยการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในรอบรายงานตัวครั้งแรก มีสิทธิ์รับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย จนถึงวันที่ท่านรายงานตัวครั้งที่ 2  และในรอบถัดไปจะคำนวนตั้งแต่วันหลังจากวันที่ท่านรายงานตัวครั้งก่อนหน้า จนถึงวันที่ท่านรายงานตัวครั้งนี้

Alacris Outsourcing
Marketing team

หากต้องการผู้ช่วยด้านการเลิกจ้าง คำนวนค่าเลิกจ้าง เอกสารเลิกจ้าง ที่ปรึกษางานด้านบุคคล หรือ การทำ Outplacement ติดต่ออะลาคริสได้ที่ (+66) 099 414 3636 หรือ contact@alacris-th.com

บริการอื่นๆของอะลาคริส บริการสรรหา Recruitment service, บริการรับทำเงินเดือน Payroll Outsourcing, บริการงานทรัพยากรบุคคล HR Outsourcing,  และ งาน Outsourcing อื่นๆ

รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง”

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนว่างงานเพื่อรับเงิน (กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง)

กรณีการว่างงานจากการลาออก หรือ สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง และ มิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และ มิใช่ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 เงื่อนไขที่ท่านจะมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

หากท่านเข้าเงื่อนไขนี้ให้ทำตาม เงื่อนไข และ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากกรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง

ขั้นตอนการขอประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน กรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง

  1. ย้ำฝ่ายบุคคลของนายจ้างเดิมว่าให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบสปส.6-09 ระบุกรณีลาออกภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ เร็วกว่านั้น เมื่อท่านมีความจำเป็นต้องใช้เงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานโดยด่วน
  2. ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไปที่ สำนักงานจัดหางานตามพื้นที่ๆที่ท่านสะดวก เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น ไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน สำหรับท่านที่ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และ ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ใน https://empui.doe.go.th/auth/index
  3. นำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมที่ท่านสะดวก เอกสารที่ต้องนำไปด้วย
    • พิมพ์แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน สปส.2-01/7 ที่ https://empui.doe.go.th/assets/doc/sos_2-017.pdf
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • สำเนาหน้าบัญชี ซึ่งประกันสังคมจะจ่ายผ่านธนาคารดังต่อไปนี้ ธนาคาร ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
    • ในขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่ประกันสังคมบางพื้นที่อาจจะมีการเรียกขอดูหนังสือรับรองการออกจากงาน หรือ หนังสือลาออก
    • สำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
  4. ให้รายงานตัวตามนัด ต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน หรือ ออนไลน์ ใน https://empui.doe.go.th/auth/index และ เงินทดแทนจะเข้าบัญชีที่ท่านได้ให้ไว้ 3-5 วันทำการหลังรายงานตัว

ซึ่งท่านจะต้องมีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน

การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานกรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง (ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 28 ก.พ. พ.ศ. 2565)

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 45 ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 90 วัน  ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน

    ** กรณีที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 90 วัน

ที่มา  https://www.sso.go.th/wpr/main/service/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1_detail_detail_1_125_696/236_236

เช่น เงินเดือนเดิมท่าน 35,000 บาท แต่ ประโยชน์ทดแทนจะคำนวนจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท และ ท่านลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563

ครั้งที่         วันที่นัดหมาย              วันที่มารายงานตัวจริง    จำนวนเงินประโยชน์

1             02/12/2563              02/12/2563              – บาท       

2             01/01/2564              25/12/2563              4,050 บาท

ซึ่ง 4,050 บาท คำนวนจาก วันที่ 8 ธ.ค. 2563 ถึง 25 ธ.ค. 2563 เป็นเวลา 18 วัน x (15,000/30*45%) = 4,050 บาท เป็นต้น

โดยการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในรอบรายงานตัวครั้งแรก มีสิทธิ์รับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย จนถึงวันที่ท่านรายงานตัวครั้งที่ 2  และในรอบถัดไปจะคำนวนตั้งแต่วันหลังจากวันที่ท่านรายงานตัวครั้งก่อนหน้า จนถึงวันที่ท่านรายงานตัวครั้งนี้

Alacris Outsourcing
Marketing team

หากต้องการผู้ช่วยด้านการเลิกจ้าง คำนวนค่าเลิกจ้าง เอกสารเลิกจ้าง ที่ปรึกษางานด้านบุคคล หรือ การทำ Outplacement ติดต่ออะลาคริสได้ที่ (+66) 099 414 3636 หรือ contact@alacris-th.com

บริการอื่นๆของอะลาคริส บริการสรรหา Recruitment service, บริการรับทำเงินเดือน Payroll Outsourcing, บริการงานทรัพยากรบุคคล HR Outsourcing,  และ งาน Outsourcing อื่นๆ

รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “ลาออก”

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนว่างงานเพื่อรับเงิน (กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง)

กรณีการว่างงานจากการลาออก หรือ สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง และ มิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และ มิใช่ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 เงื่อนไขที่ท่านจะมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

หากท่านเข้าเงื่อนไขนี้ให้ทำตาม เงื่อนไข และ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากกรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง

ขั้นตอนการขอประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน กรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง

  1. ย้ำฝ่ายบุคคลของนายจ้างเดิมว่าให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบสปส.6-09 ระบุกรณีลาออกภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ เร็วกว่านั้น เมื่อท่านมีความจำเป็นต้องใช้เงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานโดยด่วน
  2. ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไปที่ สำนักงานจัดหางานตามพื้นที่ๆที่ท่านสะดวก เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น ไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน สำหรับท่านที่ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และ ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ใน https://empui.doe.go.th/auth/index
  3. นำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมที่ท่านสะดวก เอกสารที่ต้องนำไปด้วย
    • พิมพ์แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน สปส.2-01/7 ที่ https://empui.doe.go.th/assets/doc/sos_2-017.pdf
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • สำเนาหน้าบัญชี ซึ่งประกันสังคมจะจ่ายผ่านธนาคารดังต่อไปนี้ ธนาคาร ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
    • ในขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่ประกันสังคมบางพื้นที่อาจจะมีการเรียกขอดูหนังสือรับรองการออกจากงาน หรือ หนังสือลาออก
    • สำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
  4. ให้รายงานตัวตามนัด ต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน หรือ ออนไลน์ ใน https://empui.doe.go.th/auth/index และ เงินทดแทนจะเข้าบัญชีที่ท่านได้ให้ไว้ 3-5 วันทำการหลังรายงานตัว

ซึ่งท่านจะต้องมีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน

การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานกรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง (ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 28 ก.พ. พ.ศ. 2565)

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินว่างงานในอัตราร้อยละ 45 ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 90 วัน  ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน

    ** กรณีที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 90 วัน

ที่มา  https://www.sso.go.th/wpr/main/service/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1_detail_detail_1_125_696/236_236

เช่น เงินเดือนเดิมท่าน 35,000 บาท แต่ ประโยชน์ทดแทนจะคำนวนจากฐานเงินสมทบสูงสุด 15,000 บาท และ ท่านลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563

ครั้งที่         วันที่นัดหมาย              วันที่มารายงานตัวจริง    จำนวนเงินประโยชน์

1             02/12/2563              02/12/2563              – บาท       

2             01/01/2564              25/12/2563              4,050 บาท

ซึ่ง 4,050 บาท คำนวนจาก วันที่ 8 ธ.ค. 2563 ถึง 25 ธ.ค. 2563 เป็นเวลา 18 วัน x (15,000/30*45%) = 4,050 บาท เป็นต้น

โดยการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในรอบรายงานตัวครั้งแรก มีสิทธิ์รับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย จนถึงวันที่ท่านรายงานตัวครั้งที่ 2  และในรอบถัดไปจะคำนวนตั้งแต่วันหลังจากวันที่ท่านรายงานตัวครั้งก่อนหน้า จนถึงวันที่ท่านรายงานตัวครั้งนี้

Alacris Outsourcing
Marketing team

หากต้องการผู้ช่วยด้านการเลิกจ้าง คำนวนค่าเลิกจ้าง เอกสารเลิกจ้าง ที่ปรึกษางานด้านบุคคล หรือ การทำ Outplacement ติดต่ออะลาคริสได้ที่ (+66) 099 414 3636 หรือ contact@alacris-th.com

บริการอื่นๆของอะลาคริส บริการสรรหา Recruitment service, บริการรับทำเงินเดือน Payroll Outsourcing, บริการงานทรัพยากรบุคคล HR Outsourcing,  และ งาน Outsourcing อื่นๆ

ตอนที่ 1 นายจ้างเช็คก่อนจ่าย กรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำถามยอดฮิตมาสายบ่อยครั้ง ไล่ออกได้หรือไม่ กรณีที่การกระทำของลูกจ้างได้เข้าข่าย มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

1. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

2. จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือ คําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และ เป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทําผิด

5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทํางานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร

6. ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก

ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็น กรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอัน เป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่ เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

(ศึกษากฎหมายเพิ่มเติมที่ หมวด 11 ค่าชดเชย หน้า 28 ใน http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A477/%A477-20-9999-update.pdf )

มาตอบคำถามที่ว่า มาสายบ่อยครั้ง ทำยอดขายได้ไม่ถึง ไล่ออกได้หรือไม่ ให้พิจารณาในข้อที่ 4 ตรงส่วน “…อันชอบด้วยกฎหมาย และ เป็นธรรม..” เพราะฉะนั้นสิ่งที่นายจ้างทุกท่านควรจะมีคือ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือ คําสั่งของนายจ้าง ที่เขียนอย่างรัดกุมซึ่งต้องเป็นอันชอบด้วยกฎหมาย และ เป็นธรรม เมื่อก่อตั้งบริษัทได้ครบ 10 คน หรือ ไม่ต้องรอครบ 10 คน ก็ตาม เพื่อให้พนักงานทุกท่านเข้าใจตรงกันถึงกฎระเบียบในการอยู่ร่วมกันในบริษัท

แล้วหากลูกจ้างมาสายบ่อยครั้ง นายจ้างควรต้องมีการตักเตือนเป็นลายลักษณ์ทั้งวาจาและอักษร ให้โอกาสและระยะเวลาในการปรับปรุง และเมื่อไม่ดีขึ้น ให้ดูว่าการมาสายเหล่านั้นได้เข้าข่าย ข้อใดใน มาตรา 119 หรือไม่ ซึ่งจริงๆแล้ว HR สามารถบริหารจัดการในแง่มุมอื่นได้ซึ่งจะกล่าวในบทความถัดไป

Alacris Outsourcing
Marketing team

หากต้องการผู้ช่วยด้านการเลิกจ้าง คำนวนค่าเลิกจ้าง เอกสารเลิกจ้าง ที่ปรึกษางานด้านบุคคล หรือ การทำ Outplacement ติดต่ออะลาคริสได้ที่ (+66) 099 414 3636 หรือ contact@alacris-th.com

บริการอื่นๆของอะลาคริส บริการสรรหา Recruitment service, บริการรับทำเงินเดือน Payroll Outsourcing, บริการงานทรัพยากรบุคคล HR Outsourcing,  และ งาน Outsourcing อื่นๆ

ตอนที่ 2 วิธีคำนวณค่าชดเชย

ค่าชดเชย ก่อนอื่นต้องคำนวนค่าชดเชยของลูกจ้างโดยคำนวนจากอายุงานของลูกจ้าง ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มงานมาจนถึงวันสุดท้ายที่มีการจ้างงาน (ไม่ใช่วันที่แจ้งเลิกจ้างลูกจ้าง) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  ไว้ ซึ่งการคำนวนค่าชดเชยจะถูกคำนวนไว้ดังนี้

ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย

ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 90 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย

ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย

ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 240 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย

ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย

ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป

ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 400 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย

เมื่อนายจ้างได้พิจารณาแล้วว่าเข้าข่าย การเลิกจ้างโดยต้องจ่ายค่าเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึง กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทํางานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไป (ศึกษากฎหมายเพิ่มเติมที่ หมวด 11 ค่าชดเชย หน้า 27 ใน http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A477/%A477-20-9999-update.pdf )

ทั้งนี้หากเป็นการบอกเลิกจ้างแบบกระทันหัน หรือ น้อยกว่า 1 รอบเงินเดือน หรือ 2 รอบเงินเดือนแล้วแต่เหตุของการเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างด้วย

Alacris Outsourcing
Marketing team

หากต้องการผู้ช่วยด้านการเลิกจ้าง คำนวนค่าเลิกจ้าง เอกสารเลิกจ้าง ที่ปรึกษางานด้านบุคคล หรือ การทำ Outplacement ติดต่ออะลาคริสได้ที่ (+66) 099 414 3636 หรือ contact@alacris-th.com

บริการอื่นๆของอะลาคริส บริการสรรหา Recruitment service, บริการรับทำเงินเดือน Payroll Outsourcing, บริการงานทรัพยากรบุคคล HR Outsourcing,  และ งาน Outsourcing อื่นๆ