อยากเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม? แจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลปี 2564 ได้แล้ววันนี้ สำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้ผู้ประกันตนสามารแจ้งขอเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาลประจำปี 2564 หากผู้ประกันตนมีความประสงค์จะเปลี่ยนสถานพยาบาล ทำได้ดังนี้ ได้ตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 ยื่นแบบฟอร์มกระดาษ สามารถยื่นแบบเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ สปส. 9-02 ได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครในพื้นที่ และ จังหวัดสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ ผู้ประกันตนที่ทำงานกับนายจ้างกรอกข้อมูลในช่อง สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ผู้ประกันตนที่นำส่งเงินสมทบด้วยตนเอง หรือ ลาออกจากการทำงานให้กรอกข้อมูลในช่อง สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 และบุคคลตามมาตรา 38 และมาตรา 41 ทำรายการผ่านเว็บไซด์ https://www.sso.go.th/wpr/main/login เมื่อ ลงทะเบียนเข้าใช้สำเร็จให้เลือกเมนู ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล ทำรายการผ่าน Applications SSO Connect เมื่อ ลงทะเบียนเข้าใช้สำเร็จให้เลือกเมนู เลือกเปลี่ยนโรงพยาบาล เมื่อเลือกโรงพยาบาลแล้วเราจะสามารถใช้สิทธิ์ที่โรงพยาบาลนั้นๆเลยได้หรือไม่ ก่อนอื่นขอชี้แจงว่าทุกสถานพยาบาลมีอัตราในการรับผู้ประกันตน เพราะฉะนั้นก่อนเลือกสถานพยาบาล ท่านสามารถตรวจสอบได้โดยการสายด่วน 1506 ตลอด 24Continue reading “แจ้งขอเปลี่ยนโรงพยาบาลปี 2564 ได้แล้ววันนี้”
Category Archives: Knowledge
รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “เลิกจ้าง”
การขึ้นทะเบียนว่างงาน และ รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการเลิกจ้าง กรณีการว่างงานจากการเลิกจ้าง โดยไม่มีความผิดตามมาตรา 119 ของกฎหมายแรงงาน และ มิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และ มิใช่ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 เงื่อนไขที่ท่านจะมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน หากท่านเข้าเงื่อนไขนี้ให้ทำตาม เงื่อนไข และ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการเลิกจ้าง หากท่านเข้าเงื่อนไขนี้ให้ทำตาม เงื่อนไข และ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากกรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ขั้นตอนการขอประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน กรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ย้ำฝ่ายบุคคลของนายจ้างเดิมว่าให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบสปส.6-09 ระบุกรณี “เลิกจ้าง” ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ เร็วกว่านั้น เมื่อท่านมีความจำเป็นต้องใช้เงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานโดยด่วน ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไปที่ สำนักงานจัดหางานตามพื้นที่ๆที่ท่านสะดวก เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น ไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน สำหรับท่านที่ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และ ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ใน https://empui.doe.go.th/auth/indexContinue reading “รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “เลิกจ้าง””
รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง”
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนว่างงานเพื่อรับเงิน (กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง) กรณีการว่างงานจากการลาออก หรือ สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง และ มิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และ มิใช่ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 เงื่อนไขที่ท่านจะมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน หากท่านเข้าเงื่อนไขนี้ให้ทำตาม เงื่อนไข และ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากกรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ขั้นตอนการขอประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน กรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ย้ำฝ่ายบุคคลของนายจ้างเดิมว่าให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบสปส.6-09 ระบุกรณีลาออกภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ เร็วกว่านั้น เมื่อท่านมีความจำเป็นต้องใช้เงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานโดยด่วน ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไปที่ สำนักงานจัดหางานตามพื้นที่ๆที่ท่านสะดวก เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น ไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน สำหรับท่านที่ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และ ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ใน https://empui.doe.go.th/auth/index นำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมที่ท่านสะดวก เอกสารที่ต้องนำไปด้วย พิมพ์แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน สปส.2-01/7 ที่Continue reading “รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง””
รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “ลาออก”
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนว่างงานเพื่อรับเงิน (กรณีลาออก หรือ สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง) กรณีการว่างงานจากการลาออก หรือ สิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง และ มิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และ มิใช่ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 เงื่อนไขที่ท่านจะมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน หากท่านเข้าเงื่อนไขนี้ให้ทำตาม เงื่อนไข และ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากกรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ขั้นตอนการขอประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน กรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ย้ำฝ่ายบุคคลของนายจ้างเดิมว่าให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบสปส.6-09 ระบุกรณีลาออกภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ เร็วกว่านั้น เมื่อท่านมีความจำเป็นต้องใช้เงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานโดยด่วน ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไปที่ สำนักงานจัดหางานตามพื้นที่ๆที่ท่านสะดวก เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น ไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน สำหรับท่านที่ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และ ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ใน https://empui.doe.go.th/auth/index นำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมที่ท่านสะดวก เอกสารที่ต้องนำไปด้วย พิมพ์แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน สปส.2-01/7 ที่Continue reading “รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “ลาออก””
ตอนที่ 2 วิธีคำนวณค่าชดเชย
ค่าชดเชย ก่อนอื่นต้องคำนวนค่าชดเชยของลูกจ้างโดยคำนวนจากอายุงานของลูกจ้าง ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มงานมาจนถึงวันสุดท้ายที่มีการจ้างงาน (ไม่ใช่วันที่แจ้งเลิกจ้างลูกจ้าง) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ไว้ ซึ่งการคำนวนค่าชดเชยจะถูกคำนวนไว้ดังนี้ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 90 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180Continue reading “ตอนที่ 2 วิธีคำนวณค่าชดเชย”