ตอนที่ 3 บทบาท HR กับการเลิกจ้าง

จริงอยู่ว่า HR ไม่สามารถเลือกได้ว่าจะไม่ปฏิบัติตามเมื่อนายจ้างมีคำสั่งให้เลิกจ้าง หรือ ปรับลดจำนวนพนักงาน แต่เมื่อมีคำสั่งเลิกจ้างเกิดขึ้นสิ่งที่ HR สามารถทำอย่างไรได้เพื่อเป็นการช่วยเหลือทั้ง 2 ฝ่าย ถูกกฎหมาย และ เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือ ที่พนักงานส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นค่าตกใจนั่นแหละ ค่าชดเชยตามมาตรา 118 และ ค่าชดเชยวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้าง หรือ ตามนโยบายอื่นๆตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท แจ้งออกประกันสังคมให้เร็วที่สุด ณ วันที่พนักงานพ้นสภาพเป็นวันแรกๆ HR ต้องแจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบ สปส. 6-09 และ เลือก สาเหตุว่า “เลิกจ้าง” เพราะพนักงานจะต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานเพื่อขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ชี้แจงเรื่องเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากบริษัทท่านมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงาน ให้ชี้แจงนโยบายการจ่ายเงินสะสมส่วนของนายจ้างให้พนักงานรับทราบ และ พนักงานสามารถเลือกได้ว่าจะขอคงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ซึ่งมักจะมีค่าธรรมเนียมในการคงกองทุน หรือ จะถอนกองทุนออกมาทันทีก็ทำได้ แจ้งออกสวัสดิการอื่นๆของบริษัท เช่น ประกันชีวิตและประกันกลุ่มของบริษัท เงินกู้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีพนักงานประสงค์ขอถอนกองทุน ช่วยเหลือในการสมัครงานของพนักงาน ในฐานะ HR ที่ต้องทำงาน Recruitment HR สามารถช่วยทบทวนประวัติการทำงาน (review resume)Continue reading “ตอนที่ 3 บทบาท HR กับการเลิกจ้าง”

รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “เลิกจ้าง”

การขึ้นทะเบียนว่างงาน และ รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการเลิกจ้าง กรณีการว่างงานจากการเลิกจ้าง โดยไม่มีความผิดตามมาตรา 119 ของกฎหมายแรงงาน และ มิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และ มิใช่ผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 เงื่อนไขที่ท่านจะมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน หากท่านเข้าเงื่อนไขนี้ให้ทำตาม เงื่อนไข และ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการเลิกจ้าง หากท่านเข้าเงื่อนไขนี้ให้ทำตาม เงื่อนไข และ ขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากกรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ขั้นตอนการขอประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน กรณีลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง ย้ำฝ่ายบุคคลของนายจ้างเดิมว่าให้แจ้งต่อสำนักงานประกันสังคมโดยใช้แบบสปส.6-09 ระบุกรณี “เลิกจ้าง” ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ เร็วกว่านั้น เมื่อท่านมีความจำเป็นต้องใช้เงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานโดยด่วน ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไปที่ สำนักงานจัดหางานตามพื้นที่ๆที่ท่านสะดวก เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น ไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน สำหรับท่านที่ขึ้นทะเบียนว่างงานออนไลน์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว และ ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ใน https://empui.doe.go.th/auth/indexContinue reading “รับเงินว่างงานจากประกันสังคม กรณี “เลิกจ้าง””

ตอนที่ 1 นายจ้างเช็คก่อนจ่าย กรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำถามยอดฮิตมาสายบ่อยครั้ง ไล่ออกได้หรือไม่ กรณีที่การกระทำของลูกจ้างได้เข้าข่าย มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ 1. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 2. จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือ คําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และ เป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทําผิด 5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทํางานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร 6. ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็น กรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอัน เป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่ เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ (ศึกษากฎหมายเพิ่มเติมที่ หมวด 11 ค่าชดเชย หน้า 28 ใน http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A477/%A477-20-9999-update.pdf ) มาตอบคำถามที่ว่า มาสายบ่อยครั้ง ทำยอดขายได้ไม่ถึง ไล่ออกได้หรือไม่ ให้พิจารณาในข้อที่ 4 ตรงส่วน “…อันชอบด้วยกฎหมาย และContinue reading “ตอนที่ 1 นายจ้างเช็คก่อนจ่าย กรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย”

ตอนที่ 2 วิธีคำนวณค่าชดเชย

ค่าชดเชย ก่อนอื่นต้องคำนวนค่าชดเชยของลูกจ้างโดยคำนวนจากอายุงานของลูกจ้าง ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มงานมาจนถึงวันสุดท้ายที่มีการจ้างงาน (ไม่ใช่วันที่แจ้งเลิกจ้างลูกจ้าง) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  ไว้ ซึ่งการคำนวนค่าชดเชยจะถูกคำนวนไว้ดังนี้ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 90 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ ไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180Continue reading “ตอนที่ 2 วิธีคำนวณค่าชดเชย”